3 เทคนิคชี้ช่องรวย! เพิ่มกำไรให้ร้านเบเกอรี่
3 เทคนิคชี้ช่องรวย! เพิ่มกำไรให้ร้านเบเกอรี่

3 เทคนิคชี้ช่องรวย! เพิ่มกำไรให้ร้านเบเกอรี่

นอกจากรสชาติความอร่อย สีสันของเบเกอรี่ดูน่ารับประทาน และรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่สวยงามแล้ว ปัจจัยสำคัญอีกอย่างที่ต้องคำนึงถึงคือ การลดต้นทุนการผลิต เพื่อช่วยเพิ่มกำไรให้มากขึ้น แต่ก็ต้องมาพร้อมกับคุณภาพที่ดีที่ถูกใจผู้บริโภคด้วย

แชร์เคล็ดลับนี้

Share

นอกจากรสชาติความอร่อย สีสันของเบเกอรี่ดูน่ารับประทาน และรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่สวยงามแล้ว ปัจจัยสำคัญอีกอย่างที่ต้องคำนึงถึงคือ การลดต้นทุนการผลิตเพื่อช่วยเพิ่มกำไรให้มากขึ้น แต่ก็ต้องมาพร้อมกับคุณภาพที่ดีที่ถูกใจผู้บริโภคด้วย ซึ่งฟอลคอนมีเทคนิคการเพิ่มกำไรให้ร้านเบเกอรี่มาฝากกันค่ะ


1. เตรียมปริมาณวัตถุดิบให้พอดี

ผู้ประกอบการต้องใส่ใจในการวางแผนการผลิตและการเลือกใช้วัตถุดิบให้ดี โดยเฉพาะการชั่งตวงวัตถุดิบให้ถูกต้องตามสูตร ไม่ควรใช้วัตถุดิบมากเกินความจำเป็น เพราะวัตถุดิบมีราคาสูง และอาจจะทำให้รสชาติผิดเพี้ยนได้

2. คำนวณต้นทุนการผลิต กำไร และราคาขายอย่างแม่นยำ

หลังจากที่ผู้ประกอบการวางแผนการผลิตและเลือกใช้วัตถุดิบตามสูตรเบเกอรี่แล้ว ควรนำราคาต้นทุนของวัตถุดิบ มาคำนวณรวมกับค่าใช้จ่ายอื่นๆของทางร้าน เพื่อให้มองเห็นภาพรวมต้นทุน ตลอดจนสามารถตั้งราคาขายและคาดการณ์กำไรที่ควรได้อย่างน้อย 30-50% โดยปกติแล้วองค์ประกอบการคำนวณต้นทุนการผลิต ได้แก่

  • ค่าวัตถุดิบ คือค่าใช้จ่ายหลักในการผลิตเบเกอรี่ เช่น แป้ง นม ไข่ เนย น้ำตาล และส่วนประกอบอื่นๆ ตามสูตรเบเกอรี่
  • ค่าแรงงาน คือค่าแรงคนทำงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิต เช่น พนักงานขาย พนักงานผลิตเบเกอรี่
  • ค่าใช้จ่ายในการผลิต คือค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตที่ไม่ใช่ค่าวัตถุดิบ และค่าแรงงาน เช่น ค่าเสื่อมของอุปกรณ์เครื่องมือ, ค่าซ่อมแซมอุปกรณ์เครื่องมือหรือร้าน, ค่าเช่าสถานที่, ค่าน้ำ, ค่าไฟ เป็นต้น

โดยมีวิธีการคำนวณต้นทุนง่ายๆ ดังนี้

ต้นทุนต่อสูตร   =   
น้ำหนักที่ใช้ x ราคา
น้ำหนักเต็ม

เช่น นมข้นจืด 1 กล่อง ปริมาณ 1,000 มิลลิลิตร ราคา 49 บาท ในสูตรใช้นม 150 มิลลิลิตร ต้นทุนนมต่อสูตรนี้เท่ากับ 150x49
1,000 
= 7.35 บาท

วิธีการคำนวณกำไร

ผู้ประกอบการควรคำนึงถึงกระบวนการและขั้นตอนการผลิตว่าอยู่ในระดับยากหรือง่าย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วควรได้ 30-50%

กำไรที่ต้องการ = ต้นทุนการผลิต x เปอร์เซ็นต์กำไรที่ต้องการ

เช่น หากต้องการได้กำไร 30% และต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 90 บาท ดังนั้นจะสามารถคำนวณกำไรได้เท่ากับ 90x30%= 27 บาท

วิธีการคำนวณราคาขาย

ผู้ประกอบการสามารถกำหนดราคาขายโดยตั้งต้นจากการคำนวณต้นทุนการผลิตและคาดการณ์กำไรที่ตั้งเป้าไว้ได้

ราคาขายที่ต้องการ = ต้นทุนการผลิต + กำไร

เช่น หากต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 90 บาท และต้องการได้กำไรที่ 27 บาท ดังนั้นจะสามารถคำนวณราคาขายได้เท่ากับ 90+27 = 117 บาท

หลังจากที่ผู้ประกอบการวางแผนการผลิตตามสูตรแล้ว อย่าลืมคำนวณต้นทุนการผลิตเพื่อเปรียบเทียบวัตถุดิบ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกครั้งด้วย รวมถึงการคาดการณ์กำไร และวางแผนกำหนดราคาขาย เพื่อจะได้ทราบว่าการผลิตเบเกอรี่แต่ละครั้งคุ้มทุนการผลิตหรือไม่ และควรกำหนดราคาขายอย่างไรเพื่อให้ได้ตามเป้าที่วางไว้

3. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ราคาถูกกว่า แต่ได้คุณภาพเทียบเท่า

ผู้ประกอบการที่ต้องการลดต้นทุนและเพิ่มกำไร ต้องเลือกพิจารณาวัตถุดิบที่ใช้ทำเบเกอรี่ให้ดี เพราะวัตถุดิบต่างๆ คือราคาต้นทุนการผลิต ซึ่งสามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ราคาถูกแต่ได้คุณภาพเทียบเท่าก็จะช่วยลดราคาต้นทุนได้อีกทางหนึ่ง เช่น สามารถเลือกใช้นมข้นจืดแทนนมพาสเจอร์ไรส์ได้ เพราะราคาต้นทุนถูกกว่า ให้เนื้อสัมผัสเข้มข้น มีกลิ่นหอมนมมากกว่า ช่วยขับสีสันของเบเกอรี่ให้น่ารับประทาน ได้คุณภาพเทียบเท่าการใช้นมสด

นมข้นจืด นมพาสเจอร์ไรส์
คุณลักษณะ
  • นมสดที่ระเหยน้ำออกไปราวๆ 60% จึงมีโปรตีนและสารอาหารที่ครบถ้วนอยู่
  • นำมาทำเบเกอรี่จะทำให้ขนมมีสีที่ดูน่ากินมากขึ้น เพราะมีเนื้อสัมผัสที่เข้มข้น เนียนละเอียด จะได้กลิ่นหอมนมชัดเจนที่สุด รสชาติกลมกล่อม หอมมัน
  • อายุการเก็บรักษา เก็บในอุณหภูมิห้องปกติ แต่ถ้าเปิดแล้วควรใช้ให้หมดภายใน 24 ชั่วโมง 
  • นมข้นจืดช่วยยืดอายุเบเกอรี่ได้นานกว่าการใช้นมสด
  • เป็นนมที่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนประมาณ 72 องศาเซลเซียส นาน 15 วินาที เชื้อจุลินทรีย์จะถูกทำลายไปเพียงบางส่วนเท่านั้น
  • นมจึงเก็บได้เพียง 14 - 20 วัน โดยต้องเก็บในตู้เย็นเท่านั้น และหากเปิดใช้แล้วควรใช้ให้หมดภายใน 3 วัน
  • มีรสชาตินมสด และไม่ทิ้งคุณค่าสารอาหาร
ราคา ประมาณ 49 บาท ประมาณ 45.50 บาท
ปริมาณ 1,000 มิลลิลิตร 830 มิลลิลิตร
การใช้วัตถุดิบทดแทน การใช้นมข้นจืดแทนนมดสด นมสด 1 ถ้วยตวง = นมข้นจืด ½ ถ้วยตวง ผสมน้ำ ½ ถ้วยตวง

การเลือกใช้แป้งอเนกประสงค์แทนแป้งเค้ก เพราะมีราคาถูกกว่า และหาซื้อได้ง่าย ก็มีส่วนสำคัญในการเลือกพิจารณาราคาต้นทุนการผลิต หรือการคาดการณ์กำไรได้เช่นกัน

(Note : แป้งอเนกประสงค์และแป้งเค้กทำมาจากแป้งสาลีเหมือนกัน แต่ความแตกต่างของแป้งแต่ละชนิดคือปริมาณโปรตีนที่อยู่ในแป้ง โดยแป้งสาลีในไทยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทได้แก่ แป้งขนมปัง/แป้งเค้ก/แป้งอเนกประสงค์)

แป้งอเนกประสงค์ แป้งเค้ก
คุณลักษณะ
  • มีโปรตีนประมาณ 10-12%
  • สามารถประกอบเบเกอรี่ได้หลายอย่าง เช่น คุกกี้ พาย พัฟฟ์ หรือขนมไทย อาหาร
  • ทำจากข้าวสาลีชนิดแข็งและอ่อนรวมกัน เนื้อจะเบาและขาวกว่าแป้งขนมปัง
  • มีราคาถูกที่สุดในบรรดาแป้งชนิดอื่นๆ
  • หาซื้อง่ายกว่า
  • มีโปรตีนประมาณ 7-9% (ต่ำที่สุดในบรรดาแป้งสาลีทั้งหมด)
  • ทำจากข้าวสาลีชนิดอ่อนเนื้อแป้งละเอียด เบา นุ่มมือ และมีสีขาว
  • เหมาะกับพวกทำขนมเค้กและขนมที่มีเนื้อละเอียดฟู เช่น ซาลาเปา ถ้วยฟู ปุยฝ้าย
ราคา ประมาณ 35 บาท ประมาณ 45 บาทขึ้นไป
ปริมาณ 1,000 กรัม 1,000 กรัม
การใช้วัตถุดิบทดแทน การใช้แป้งสาลีอเนกประสงค์แทนแป้งเค้ก แป้งสาลีอเนกประสงค์ 1 ถ้วย = แป้งเค้ก 1 ถ้วย กับ 2 ช้อนโต๊ะ จึงจะได้ส่วนผสมแป้งที่ใกล้เคียงกัน

หัวใจสำคัญของการเพิ่มกำไรในการทำเบเกอรี่ คือการลดต้นทุนการผลิตอย่างเหมาะสม ทั้งในด้านของการคำนวณต้นทุนการผลิต และการเลือกสรรวัตถุดิบที่มีคุณภาพ เพื่อให้ผลิตเบเกอรี่ที่ได้มาตรฐาน แต่อยู่ในราคาที่ถูกกว่า อย่างเช่นการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์นมข้นจืดฟอลคอนแทนนมสดก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยเพิ่มกำไรให้ผู้ประกอบการได้อย่างดีค่ะ อย่าลืมนำเทคนิคเหล่านี้ไปใช้นะคะ รับรองว่าช่วยเพิ่มกำไรให้ธุรกิจเบเกอรี่ของคุณได้อย่างแน่นอนค่ะ


เบเกอรี่ หอม นุ่ม อร่อย ได้ด้วยนมมข้นจืดฟอลคอน

เนื้อหาที่น่าสนใจ