ไขมันทรานส์คืออะไร? ทำไมใครๆก็พูดถึง
ไขมันทรานส์คืออะไร? ทำไมใครๆก็พูดถึง

ไขมันทรานส์คืออะไร? ทำไมใครๆก็พูดถึง

กระแสของไขมันทรานส์กลายเป็นประเด็นทางสังคมและเป็นที่พูดถึงกันอย่างต่อเนื่อง แล้วจะมั่นใจได้อย่างไรว่าผลิตภัณฑ์ที่เราเลือกใช้ไม่มีส่วนผสมของไขมันทรานส์ มีคำแนะนำเบื้องต้นมาฝาก

แชร์เคล็ดลับนี้

Share
ถ้าพูดถึงหลักอาหาร 5 หมู่ ส่วนประกอบสำคัญอย่างหนึ่งที่ร่างกายต้องการและขาดไม่ได้เลย คือ ‘ไขมัน’ ซึ่งไขมัน 1 กรัม ให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าไขมันที่เรารับประทานกันนั้น เป็นไขมันที่ดีหรือไม่ แล้วกระแสของไขมันทรานส์ที่ถูกพูดถึงกันคืออะไร? เรามาทำความรู้จักกันเลยค่ะ
 
falcon-info-web_1
 
ไขมันคืออะไร? มีประเภทไหนบ้าง?
‘ไขมัน’ เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย เพื่อใช้ทำกิจกรรมต่างๆ ในไขมันประกอบด้วยกรดไขมันที่แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
  • กรดไขมันไม่อิ่มตัว
  • กรดไขมันอิ่มตัว
falcon-info-web_2
 
1. กรดไขมันไม่อิ่มตัว พบได้ในน้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันมะกอก, น้ำมันงา, น้ำมันถั่วเหลือง, น้ำมันเมล็ดทานตะวัน เป็นต้น รับประทานในอัตราที่เหมาะสมช่วยเพิ่มระดับไขมันตัวดี (HDL-Cholesterol) และลดระดับไขมันตัวร้าย (LDL-Cholesterol)
2. กรดไขมันอิ่มตัว พบได้ในเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู และ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม น้ำมันพืชบางชนิด เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กรดไขมันประเภทนี้ควรควบคุมการบริโภคเพราะจะทำให้มีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง
 
แล้วไขมันทรานส์เกิดได้อย่างไร
ไขมันทรานส์ เกิดได้ 2 แบบ
  1. ไขมันทรานส์ธรรมชาติ พบในปริมาณที่น้อยมากในสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น วัว ควาย แพะ แกะ
  2. ไขมันทรานส์สังเคราะห์ พบในปริมาณมากในกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น เนยเทียม (Margarine) หรือเนยขาว (Shortening)
falcon-info-web_3
 
กระบวนการผลิตแบบไหนที่ทำให้เกิดไขมันทรานส์
ในอุตสาหกรรมอาหารเมื่อผู้ผลิตต้องการน้ำมันที่ไม่เหม็นหืน เก็บได้นาน มีรสชาติดี แถมช่วยลดต้นทุน จึงมีการนำเอาน้ำมันพืชมาแปรรูปโดยผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจน (Hydrogenation) โดยมีกระบวนเติมไฮโดรเจนทำได้ 2 วิธี
 
  1. กระบวนการเติมไฮโดรเจน แบบสมบูรณ์ (Full Hydrogenation) คือ กระบวนการผลิตชนิดนี้ไม่ทำให้เกิดไขมันทรานส์ เป็นการผลิตขั้นสูง
  2. กระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (Partial Hydrogenation) คือ กระบวนการเติมไฮโดรเจนนี้ มักจะดำเนินไปอย่างไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดไขมันทรานส์
falcon-info-web_4
 
เลือกกินอย่างไรให้ปลอดภัย
 
องค์การเกษตรและอาหารแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization) แนะนำว่า
  • ปริมาณการบริโภคไขมันอิ่มตัวไว้ที่ 10% ของค่าพลังงานต่อวัน (หรือ 20 กรัมต่อวัน)
  • ปริมาณสูงสุดสำหรับไขมันทรานส์ไม่เกิน 1% ของค่าพลังงานต่อวัน (หรือประมาณ 2 กรัมต่อวัน หรือประมาณ 0.5 กรัมต่อหน่วยบริโภค)
Falcon_Trans_Fat
 
ข้อควรสังเกตบนฉลากก่อนซื้อ
  • 0% trans fat ไม่ได้หมายความว่าไม่มีไขมันทรานส์เลย อาจหมายความว่ามีไขมันทรานส์ต่ำกว่า 0.5 กรัม ซึ่งสามารถรับประทานได้ แต่ในปริมาณที่จำกัด
  • Partially Hydrogenated oil หมายถึง ไขมันทรานส์นั่นเอง
  • Fully หรือ Completely Hydrogenated Fat ไม่ใช่ไขมันทรานส์ แต่จะเปลี่ยนเป็นไขมันชนิดอิ่มตัวแทน
 
ประกาศจากกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ‘ไขมันทรานส์’ ที่เผยแพร่ออกมานั้น ถือเป็นจุดสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคมีการปรับตัวและวางแผนเรื่องของการรับประทาน และการดูแลสุขภาพมากขึ้น ทั้งนี้ยังส่งผลต่อผู้ผลิตและผู้ประกอบการที่ต้องใส่ใจเรื่องส่วนผสม คุณภาพและปริมาณเพื่อสุขอนามัยที่ดีของผู้บริโภคด้วย แต่อย่างไรทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภคมั่นใจได้เลยว่าผลิตภัณฑ์ในกลุ่มบริษัท ฟรีสแลนด์คิมพิน่า จำกัด ปราศจากน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนซึ่งเป็นแหล่งหลักของไขมันทรานส์

เนื้อหาที่น่าสนใจ